กิจกรรมและบทความ

16/03/2565

"PDPA" กับ 6 "ข้อยกเว้น" กรณีไหนใช้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ได้ ไม่ต้องขอความยินยอม


Credit : Bangkokbiznews.com 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/social/1007505


กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่ง มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565  เป็นกฎหมายใหม่ที่ทุกคนต้องทำความรู้จักไว้ เพื่อระมัดระวัง ไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น และต้องเข้าใจสิทธิที่ตัวเองมี ในฐานะ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ด้วย 

บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า PDPA  นี้คืออะไร ?  PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 มีไว้เพื่อให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่เก็บรวบรวมใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทย ปกป้องและป้องกัน ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ให้ปลอดภัยจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 

นอกจากนี้ยังมีผลบังคับใช้ กรณีผู้ควบคุม หรือผู้ประเมินข้อมูลส่วนบุคคล "อยู่นอกราชอาณาจักร" และมีการเสนอขาย หรือบริการแก่เจ้าของข้อมูลที่อยู่ในไทย รวมถึงเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในไทย  

โดยปกติการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ เพื่อให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 แต่ยังมีบางกรณีที่กฎหมายให้ข้อยกเว้นไว้ สามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ดังนี้

1. เก็บข้อมูล หรือ เปิดเผย เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือกิจกรรมในครอบครัว

2. การดำเนินการของหน่วยงานรัฐ
    - รักษาความมั่นคงของรัฐ
    - ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ
    - รักษาความปลอดภัยของประชาชน
     - ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
     - นิติวิทยาศาสตร์
     - รักษาความั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

3. เก็บข้อมูล หรือ เปิดเผย เพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ

4. เก็บข้อมูล หรือ เปิดดเผย ใช้ในการพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา หรือคณะกรรมาธิการ

5. การพิจารณาพิพากษาของศาล หรือการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมอาญา

6. เก็บข้อมูล หรือ เปิดเผย ของบริษัทข้อมูลเครดิต และสมาชิกตามกฎหมายการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต



Recommended articles

กิจกรรม CSR ขัดบ่อเต่าทะเล และปล่อยเต่าสู่ท้องทะเล

ดูเพิ่มเติม

TOWN HALL 2024 "MEETING & PLAYING" TOPGOLF MEGACITY

ดูเพิ่มเติม

กิจกรรม Tidlor Culture WOW และ Tidlor Camp

ดูเพิ่มเติม

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม สำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และห้องชุดพักอาศัย ในปี 2566

ดูเพิ่มเติม

ต่างชาติ สามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ไทยได้มากแค่ไหน ?

ดูเพิ่มเติม